Emergency Pre-Planning

 เบื้องหลังไม่มีเซ็นเซอร์

 แผนฉุกเฉิน


 แผนฉบับแรกที่ผมลงมือเขียน เป็นแผนฉุกเฉินของโรงไฟฟ้า Cogeneration ซึ่งในขณะนั้น เป็นของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของไทย ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม ในปัจจุบันได้ขายโรงไฟฟ้าทั้งเฟส หนึ่ง สองและสามให้กับบริษัทสัญชาติยุโรปแห่งหนึ่งไปแล้ว โรงไฟฟ้าเฟสหนึ่งและสองตั้งอยู่บนพื้นที่ของโรงผลิตโอเลฟินในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ความที่ใช้พื้นที่ของคนอื่น โรงไฟฟ้าแห่งนี้ แม้จะมีรั้วโดยรอบ เปิดออกสู่โรงโอเลฟินได้ แต่ก็มักจะมีโซ่คล้องเอาไว้เพื่อการรักษาความปลอดภัย วัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยที่โรงงานแห่งนี้ออกจะดูประหลาดในสายตาของผม ครั้งที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ กล่าวคือ ทุกครั้งที่เจ้านาย ในที่นี้คือ เอ็มดี (Managing Director) มาเยี่ยมเยือนโรงงาน หัวหน้า รปภ. ผู้ซึ่งเป็นที่น่าเกรงขามของทุกๆคนเพราะเป็นคนของ นาย หรือ เพราะเป็นทหารเก่า (มั๊ง เดาเอา) แกจะทำหน้าที่อย่างแข็งขัน ด้วยการวิ่งถือธงเล็กๆสีเขียวนำหน้ารถ จากปากประตู ของโรงโอเลฟิน มาจนถึงโรงไฟฟ้าแห่งนั้นทุกคราไป สอบถามก็ได้ความว่า โรงโอเลฟินมีความเข้มงวดเรื่องการเข้าออก ต้องตรวจบัตร แลกบัตร ทำให้ เจ้านายไม่ได้รับความสะดวก จึงได้ตกลงกันว่า หัวหน้าคนนี้จะต้องออกไปรับ วิ่งถือธงเหยาะๆนำเข้ามา เพื่อเจ้านายไม่ต้องแลกบัตรให้เสียเวลา เมื่อเจ้านายมาถึง หัวหน้าผู้นี้ก็จะรอโค้งคำนับ พร้อมส่งหมวกเซฟตี้สีทองให้เจ้านาย เป็นศิริมงคล  เอาเป็นว่า บายพาสระบบเพื่อคนสำคัญมากด้วยบารมี ไม่ต้องผ่านระบบ Security และที่สำคัญ หมวกสีทองบ่งบอกบารมีที่ไม่มีกฏใดๆมีผลกับท่านเลย ที่แห่งนั้นมีหมวกสีทองราวๆแปดเก้าใบ ว่ากันว่า สำหรับมนุษย์ทองคำที่อยู่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ   สิ่งนี้เมื่อมาถึงยุคผม จึงสั่งยกเลิกเสียทั้งหมด ไม่มีการวิ่งนำหน้า ไม่มีธง ไม่มีหมวกสีทอง และไม่มีใครใหญ่ไปกว่า Emergency Commander ในยามที่มีเหตุฉุกเฉิน พวกหมวกสีทองหากไม่ผ่านการฝึกอบรม การสั่งการระงับเหตุฉุกเฉินตามแผนแล้วละก็ ท่านก็ไม่แตกต่างจากพนักงานคนอื่นๆ ไม่มีหน้าที่ในทีมฉุกเฉินทีมใดทีมหนึ่ง ท่านต้องปฏิบัติตามแผนที่กำหนด ไม่มียกเว้น  ครับนั่นคือความประทับใจแรกของเจ้านาย ที่มีต่อผม เป็นความไม่พอใจอย่างมาก เจ้านายเคยถามผมว่าทำไมต้องให้ผมแลกบัตร ผมก็ตอบว่า ก็เจ้านายไม่มีบัตรที่สำแดงตนว่าเป็นใคร ในระบบรักษาความปลอดภัย เราจำแนกคนด้วยบัตร (Personal Identification)เจ้านายก็บอกว่า รปภ.มันจำผมไม่ได้หรือ ผมก็บอกว่า เมื่อก่อนจำได้ แต่ตอนนี้ผมสั่งห้ามจำ แต่ให้เข้มงวดการตรวจบัตร เจ้านายโกรธผมมากที่ไม่รู้จักคนมากบารมี ผมพยายามอธิบายว่า เจ้านายน่าจะยินดีนะครับที่ระบบรักษาความปลอดภัยไม่มีจุดอ่อน ไม่มีข้อยกเว้นยิบย่อย ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกรงใจไม่กล้าขอดูบัตรใคร แล้วปล่อยคนเล็ดรอดเข้ามา เกิดไปกดชัตดาน์วแก็สเทอร์ไบน์เข้าสักยูนิตหนึ่ง ไฟดับ ลุกค้าในมาบตาพุดเกิดไฟไม่พอ แล้วจะทำยังงัย เจ้านายทำท่าเหมือนเข้าใจ แต่ (กูไม่ชอบ เข้าใจมั๊ย)


ต่อมา ผู้บริหารอีกท่านหนึ่ง เดินเข้ามาหาผมในวันหนึ่ง พร้อมด้วยเอกสารปึกใหญ่ บอกว่า นี่เป็นแผนฉุกเฉินของโรงงานผลิตสารเคมีที่อยู่ข้างๆ คุณลอกไปเลย ไม่ต้องเสียเวลาเขียน ผมงง พวกหมวกสีทองชอบทำอะไรแปลกๆ ก็เลยพลิกดูข้างใน เห็นชื่อคนเขียนแผน อ่านดูเรื่อง Initial Response, First Responder และ Flow Chart ของแผนโดยรวม ผมก็บอกไปว่า ไม่หรอกครับ ไม่ต้องลอกเขาหรอก หนึ่ง ไอ้คนเขียนแผนมันเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับผม (ไม่อยากจะบอกว่าสมัยเรียน ผมเรียนเก่งกว่ามันซะอีก) ข้อสอง โรงงานเราแตกต่างจากเขาทั้งด้านกายภาพและรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อาทิเช่น โรงงานเราไม่มี Fire Annunciator ที่ป้อม รปภ. ไม่มีระบบเตือนภัยแบบเข้ารหัส (Coded Alarm) ไม่มี ไม่มีรถดับเพลิง ไม่มีทีมดับเพลิงประจำสถานี ไม่มี... มากมาย  เบื้องหลังของการพยายามให้ผมลอกแผนฉุกเฉินคนอื่นมาเปิดเผยชัดเจนในเวลาต่อมา โดย หมวกสีทองอีกสองคน มาหว่านล้อมให้ผมเซ็นต์อนุมัติการขอซื้อรถดับเพลิง โดยเสนอส่วนแบ่งให้ในราคาที่น่าตื่นตาตื่นใจ แต่บังเอิญผมมีความเห็นว่า ไม่ใช่ความจำเป็นที่โรงไฟฟ้าแบบนั้น ตั้งอยู่ใจกลางโรงโอเลฟิน ที่มีรถดับเพลิงอยู่หลายคัน นี่ยังไม่รวมโรงผลิต วีซีเอ็ม โรงอื่นๆโดยรอบ ไม่น้อยกว่า ห้าสิบคันที่อยากจะดับเพลิงใจจะขาด วันๆไม่มีอะไรทำนอกจากเช็ดรถดับเพลิงเป็นมันวับ พอมีไฟไหม้หญ้านิดหน่อยก้ดีใจแทบแย่ เพราะจะได้ออกกำลังมั่ง แผนฉุกเฉินที่เขียน จึงไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนกับรถดับเพลิง สถานีดับเพลิง และพนักงานประจำสถานี แต่ให้ความสำคัญกับการประสานงานทีมดับเพลิงกับหน่วยดับเพลิงจากภายนอกมากกว่า ครับข้อเสนอเปอร์เซ็นตถูกผมขัดใจอีกแล้ว หมวกสีทองทั้งหลายเริ่มโกรธผมจริงๆแล้วครับ
ถ้าจะให้เล่า เรื่องทำนองนี้ ระหว่างผมกับหมวกสีทอง มีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแอบปล่อยน้ำเสียที่เกิดจากการ Flush Line ลงทะเล การลักลอบเอาขี้เถ้า Bottom Ash ไปทิ้งในบ่อลูกรังหลังชุมชนมาบตาพุด การพยายามจะปล่อยน้ำจากกองถ่านหินที่ไม่ผ่านกระบวนการบำบัดลงทะเล อ้างว่าผู้จัดการนิคมเห็นดีเห็นงาม พอถูกขวาง หมวกสีทองอีกคน ขู่ผมว่า มึงรู้มั๊ย กูเป็นใคร จนบัดนี้ผมยังงงอยู่ ก็มึงยังไม่รู้แล้วกูจะรู้ได้งัย ไอ้ฟายยย..ครั้งนั้น ลงเอยด้วยการขัดแย้งรุนแรง จนเรื่องการลอบทำร้ายแว่วมาถึงหูผม ครับ ผมก็กลัวตายนะ ไอ้เวร


PRE-FIRE PLANNING

ช่างมันเถอะครับ มากลับเข้าเรื่องวิชาการกันก่อน 
การทำแผนฉุกเฉินที่ดี ต้องเริ่มจากการรวบรวมข้อมูล (Data gathering ) ข้อมูลมากมายที่ต้องรู้ เช่น ลักษณะแผนผัง ทางเข้า ออก ระบบถนน ความกว้างประตู วงเลี้ยวสำหรับรถดับเพลิง ท่อน้ำดับเพลิง ระบบเตือนภัย ระบบระบายน้ำ ระบบประกาศเสียงตามสาย ระบบระบายอากาศ ระบายควัน จำนวนคน ระบบไฟฟ้า ระบบโทรศัพท์  ผมแนะนำ ไปอ่าน เรื่อง Pre-Fire Planning ของ David T. Gold  ถ้าจำไม่ผิด
ตอนที่ผมเริ่มทำแผน ผมพบว่าระบบน้ำดับเพลิงของโรงไฟฟ้าแห่งนั้น อาศัยน้ำดับเพลิงจากโรงโอเลฟิน (ถุย  ปั๊มดับเพลิงยังต้องอาศัยคนอื่น สะเออะจะซื้อรถดับเพลิง.. คิดในใจนะครับ) หัวดับเพลิงจัดเรียงอยู่โดยรอบรั้ว มีถนนเป็นรูปวงแหวนกั้นอยู่ จุดที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้จุดหนึ่งหลังจากการทำ Risk Assessment แล้ว ก็คือที่ Natural Gas Station ซึ่งมีอยู่สองจุด ต่อแก็สเทอร์ไบน์สามบล๊อก ลักษณะของเพลิงบริเวณนี้ ที่เป็นไปได้มากที่สุด คือแก็สรั่วแบบรุนแรง นั่นหมายความว่า จะเกิดไฟแบบที่เรียกว่า Jet Fire มีทิศทางที่จะอันตรายต่อบริเวณใกล้เคียง และที่น่ตกใจก้คือ ตำแหน่งของ gas station อยู่ติดรั้ว ไม่มีหัวดับเพลิงอยู่ในรัศมีใกล้เคียงให้สามารถทำการสู้ไฟได้จากทางเหนือลม เพราะพื้นที่มาบตาพุดมากกว่า ห้าเดือนลมพัดจากทิศใต้ไปทิสเหนือ หากเป็นเช่นนั้น การสู้ไฟจากใต้ลม ต้องอาศัยสายดับเพลิงถึงสี่เส้น ก็ราวๆ แปดสิบเมตร ด้วยพนักงานเพียงแค่สามสีคนตามเทคนิค Minimum Man Power เป็นไปได้ยากครับ แผนนี้ต้องซ้อมร่วมกับรถดับเพลิงจากดรงโอเลฟิน ซึ่งเขากระเหี้ยนกระหือรืออยากลองมากเลย  ผมเขียนแผนเสร็จ ทำ Fire Combat Strategic action plan แล้วลงมือซ้อมแผน หลังจากที่ผู้ที่เป็นทีมฉุกเฉินผ่านการอบรมมาจากหลักสูตร Fire Commander การซ้อมหนแรก พบว่า หากจะต้องดับไฟที่เกิดจากแก็สรั่วจริง ต้องมีการใช้น้ำผลักเปลวเพลิงให้พ้น แล้วเข้าระงับการรั่วไหล ส่วนการตัดแก็สจากต้นทางนั้น ทำได้ก็จริงแต่จะส่งผลให้แก็สเทอรืไบน์อีกสองบล๊อกร่วงไปด้วย ต้องมีการแก้ไขระบบ sectional valve ของแก็สใหม่ ไม่งั้นแย่แน่นอน การซ้อมนอกจากทดสอบแผนที่เขียน ขั้นตอนที่กำหนด ความชำนาญและความคล่องตัวของทีมแล้ว ยังจะได้เห็นปัญหาและอุปสรรคที่ซ่อนอยู่
ลองคิดดูนะครับ ถ้าเป็นสมัยก่อน การซ้อมก็จะออกมาในแนวที่ว่า สมมตไฟไหม้ตรงกองขยะหัวมุมตึก แล้วเจ้านายใส่หมวกสีทอง คว้าวิทยุสั่งการ พนักงานวิ่งเข้าไปดับเพลิง ส่วนนางสนมกรูกันออกไป นางสนมบางคนถุกแต่งหน้าแต่งตาให้เหมือนไฟลวก แล้วก็ทำควันเทียม ถ่ายวิดีโอ เอามาดูกัน อู้ฮู เท่ห์ระเบิด  ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น  ส่วนเจ้านายก็หัวเราะคิกคัก นานๆจะได้จับวิทยุซะที มันกดยังงัยวะ
ขออนุญาตนะครับ  (ถุยยยย) เอาวิทยุใส่มือให้คนที่ไม่เคยอบรมผ่านหลักสูตรการระงับเหตุฉุกเฉิน เท่ากับส่งคนเข้าไปตายนะครับ ถ้าเป็นของจริง พวกนี้น่ากลัวนะครับ พวกหมวกสีทองที่สั่งมั่วนี่แหละอันตรายที่สุด มาหนนี้ พวกหมวกสีทองถูกกันออกไปรวมกันที่ห้องผู้บริหาร เตรียมรับมือกับสื่อมวลชน แต่บังเอิญครั้งนั้นยังไม่ได้เน้นซ้อมเรื่องนี้ พวกหมวกสีทอง เซ็งอีกแล้ว






เอาไว้วันหลังมาเล่าต่อนะครับ ว่าขั้นตอน Developing Scenario มีอะไรที่สำคัญๆบ้าง จะเล่าให้ฟังว่าการอพยพคนจากตึกสูงในกรุงเทพ เขาซ้อมกันแบบไหน สนุกดีครับ

 






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ALARP

IT for Safety management system