กฏหมายกับ กฏที่หมดความหมาย
ที่อเมริกา OSHA สั่งปรับบริษัทมากมายกราวรูด แต่ละครั้งเป็นมูลค่านับล้านบาท เช่น BP ถูกสั่งปรับ กรณีโรงกลั่นน้ำมันที่ Texas ระเบิดเมื่อปี 2005 เป็นเงินถึง 50.6 ล้านเหรียญ
ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2010 OSHA สั่งปรับบริษัทผลิตกระดาษรายใหญ่ใน Philadelphia เป็นเงินสูงถึง 86,100 USD. หลังจากการเข้าสอบสวนอุบัติเหตุ พนักงานดวงกุดถูกฮอบเปอร์ของเครื่องย่อยกระดาษทับตาย พบว่ามีการละเมิดมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฏหมาย 39 ข้อหาฉกรรจ์ และอีก 4 ข้อหาที่เป็นการผิดกฏหมายรุนแรง มาดูกันดีกว่าว่ามีข้อหาอะไรบ้าง
ที่ระบุไว้ในแถลงข่าว ก็มีเรื่องต่อไปนี้ คือ บริษัทละเลยที่จะนำสิ่งที่เป็นอันตรายออกไปให้พ้นการกีดขวางทางเดิน มีระบบ Lock-Out-Tag-Out ไม่เพียงพอเป็นเหตุให้พนักงานต้องเผชิญกับพลังงานที่อันตราย ระบบ Machine Guarding ไม่เพียงพอ ตรวจพบมีอันตรายจากไฟฟ้า ถังดับเพลิงถุกกีดขวาง ขาดการจัดการเรื่องแมลงและสัตว์นำโรค มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลไม่เพียงพอที่จะป้องกันพนักงานจากการถุกความร้อนลวก ขาดการควบคุมการติดเชื้อจากสิ่งที่เป็น Blood Borne Pathogen (ไม่รู้จะแปลด้วยคำไหนให้สละสลวยสวยเก๋) ขาดการติดตั้งราวกันตก (กันลาวตก)
เรื่องแบบเดียวกัน ถ้าเกิดที่เมืองไทย คุณคิดว่าจะมีการสั่งปรับกันมโหฬารแบบนี้ไหม
ก. มี๊ (ทำเสียงสูง) ปรับเยอะกว่านี้อิ๊ก (เสียงสูงแบบดัดจริตมากๆ)
ข.ไม่เมี๊ย (ทำเสียงต่ำ แบบเบื่อหน่ายสุดๆ)
ค. มีมั่งไม่มีมั่ง แล้วแต่เหตุการณ์ ถ้าเรื่องไหนดังเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ก็เอากันซะที ที่ไหนไม่เป็นข่าว ก็ปล่อยเงียบๆไป ถ้อยทีถ้อยอาศัย จะเอาอะไรกันมาก เมืองไทยเมืองพุทธ อยู่กันแบบพี่แบบน้อง เรื่องแค่นี้ ขี้ประติ๋ว
ง. เมืองไทยไม่มีกฏหมายแบบนี้หรอก กฏหมายไม่เอื้ออำนวยให้หน่วยงานที่กำกับดูแลกฏหมายมีอำนาจมากขนาดน๊าน (เสียงสูง)
มาถกกันดีกว่าครับ
ก่อนอื่น มาดูกันหน่อยว่า เมืองไทยมีกฏหมายความปลอดภัยไหม ถ้ามี กฏหมายให้อำนาจไว้ขนาดไหน
รัฐธรรมนูญ ก็จะกำหนดกรอบไว้กว้างๆ เช่น ประชาชนชาวไทยมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ใครจะมาละเมิดมิได้ อะไรประมาณนั้น เรื่องความปลอดภัยสุขภาพก็คงจะอยู่ในแนวๆนี้แหละ ตั้งแต่มีการร่างแล้วฉีก ฉีกแล้วร่าง กันหลายๆรอบ ผมเลยขี้เกียจอ่านรัฐธรรมนูญอีกต่อไป เพราะเดี๋ยวก็ฉีกกันอีก ดูๆไปคล้ายกระดาษชำระเหมือนกัน ฉีกได้สบายมือ เหนียวนุ่ม ซึมซับดี
พูดมาถึงตรงนี้ พอจะทราบอีกไหมว่ามีกฏหมายอะไรจะมาเทียบเท่ารัฐธรรมนูญได้อีก (มี๊ เสียงสูง) มีครับ มีจริงๆ ไม่ได้โกหก ก็ ประกาศคณะปฏิวัติงัย (โปรดฟังอีกครั้ง) ประเทศไทยเราอยู่กันมาแบบนี้เนิ่นนานแล้วครับ
กฏหมายความปลอดภัย ก่อนปี พ.ศ. 2540 นั้น ได้อำนาจมาจาก กฏหมายที่เรียกว่า ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ปี 2515 เก่างั่กเลยครับ มาจนกระทั่ง ปี 2540 หลังจากเมืองไทยว่างเว้นการปฏิวัติรัฐประหาร มาได้สัก 5 ปี เราก็มีพระราชบัญญัติแรงงานกันเป็นเรื่องเป็นราว
ใน พรบ.มีมาตราที่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย สุขภาพ เริ่มที่มาตรา 100-103 โดยเฉพาะมาตรา 103 ให้รัฐมนตรีไปออกกฏหมาย และให้รัฐมนตรีไปแต่งตั้ง เจ้าพนักงาน ในมาตราท้ายๆของ พรบ. เช่นมาตรา 150 แถวๆนั้น ระบุชัดเจนว่าถ้านายจ้าง ไม่ทำนั่น นู่น นี่ มีโทษทั้งปรับ โทษจำคุก กำหนดไว้ครับ
ลองกลับไปอ่านดูนะครับว่า ข้อหาต่างแบบที่บริษัทกระดาษที่อเมริกาโดน ถ้าเมืองไทย เอาจริง คุณว่าปรับได้ไหม ถ้าได้ เพราะอะไร ถ้าไม่ได้ทำไม
ผมหยิมมาให้ดู สักฉบับ เอาฉบับของปี 2549
ข้อนี้ข้อเดียว ถ้าจะตั้งหน้าตั้งตาปรับกันจริงๆ รับรองครับ กระทรวงแรงงานไม่ต้องของบประมาณให้เหนื่อย ก็แค่ส่งเจ้าพนักงานเข้าไปดู
อ้าว หวัดดีคร๊าบ ทำรายกานคร๊าบบบบ ไหนๆๆ ดูดี๊ อ้อ ตั้งนั่งร้านกันเหรอครับ ไหน มีคู่มือกำหนดขั้นตอน วิธ๊การปฏิบัติงานมั๊ยคร๊าบบบ อ้อ ไม่มีเหยอ.... ไหนผู้จัดการ ขอคุยที่มุมตึกหน่อย....โอ๊ะ โอวววว ถล่ม แว๊ววววว เอาไปอีกสามสิบข้อหา อิๆๆๆ
ประเด็นที่พูดมาทั้งหมด ก็คือ ประเทศไทย เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกฏหมาย เรื่องไหนที่มีในโลกหล้า ประเทศไทยมีหมดครับ
ต่างกันตรงแค่ว่า กฏเป็นกฏ หรือว่าเพียงแค่ กฏ เอาไว้กดเท่านั้นรึเปล่า
ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2010 OSHA สั่งปรับบริษัทผลิตกระดาษรายใหญ่ใน Philadelphia เป็นเงินสูงถึง 86,100 USD. หลังจากการเข้าสอบสวนอุบัติเหตุ พนักงานดวงกุดถูกฮอบเปอร์ของเครื่องย่อยกระดาษทับตาย พบว่ามีการละเมิดมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฏหมาย 39 ข้อหาฉกรรจ์ และอีก 4 ข้อหาที่เป็นการผิดกฏหมายรุนแรง มาดูกันดีกว่าว่ามีข้อหาอะไรบ้าง
ที่ระบุไว้ในแถลงข่าว ก็มีเรื่องต่อไปนี้ คือ บริษัทละเลยที่จะนำสิ่งที่เป็นอันตรายออกไปให้พ้นการกีดขวางทางเดิน มีระบบ Lock-Out-Tag-Out ไม่เพียงพอเป็นเหตุให้พนักงานต้องเผชิญกับพลังงานที่อันตราย ระบบ Machine Guarding ไม่เพียงพอ ตรวจพบมีอันตรายจากไฟฟ้า ถังดับเพลิงถุกกีดขวาง ขาดการจัดการเรื่องแมลงและสัตว์นำโรค มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลไม่เพียงพอที่จะป้องกันพนักงานจากการถุกความร้อนลวก ขาดการควบคุมการติดเชื้อจากสิ่งที่เป็น Blood Borne Pathogen (ไม่รู้จะแปลด้วยคำไหนให้สละสลวยสวยเก๋) ขาดการติดตั้งราวกันตก (กันลาวตก)
เรื่องแบบเดียวกัน ถ้าเกิดที่เมืองไทย คุณคิดว่าจะมีการสั่งปรับกันมโหฬารแบบนี้ไหม
ก. มี๊ (ทำเสียงสูง) ปรับเยอะกว่านี้อิ๊ก (เสียงสูงแบบดัดจริตมากๆ)
ข.ไม่เมี๊ย (ทำเสียงต่ำ แบบเบื่อหน่ายสุดๆ)
ค. มีมั่งไม่มีมั่ง แล้วแต่เหตุการณ์ ถ้าเรื่องไหนดังเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ก็เอากันซะที ที่ไหนไม่เป็นข่าว ก็ปล่อยเงียบๆไป ถ้อยทีถ้อยอาศัย จะเอาอะไรกันมาก เมืองไทยเมืองพุทธ อยู่กันแบบพี่แบบน้อง เรื่องแค่นี้ ขี้ประติ๋ว
ง. เมืองไทยไม่มีกฏหมายแบบนี้หรอก กฏหมายไม่เอื้ออำนวยให้หน่วยงานที่กำกับดูแลกฏหมายมีอำนาจมากขนาดน๊าน (เสียงสูง)
มาถกกันดีกว่าครับ
ก่อนอื่น มาดูกันหน่อยว่า เมืองไทยมีกฏหมายความปลอดภัยไหม ถ้ามี กฏหมายให้อำนาจไว้ขนาดไหน
คำถามแรกก่อน คุณว่าเมืองไทยมีกฏหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยมั๊ย คำตอบ มี๊(เสียงสูงปรี๊ด) เรามีกฏหมายในระดับที่เรียกว่า พระราชบัญญัติ เลยนะครับ พรบ.แรงงาน ปี 2540 ใครไม่รู้มั่งว่า พรบ.เนี่ย เป็นรองก็แค่กฏหมายสูงสุดของเราเชียวนะครับ อย่าทำเป็นงง กฏหมายสูงสุดของเรา เรียกว่า รัฐธรรมนูญ ครับ เป็นกฏหมายที่ได้มาจากกระบวนการทางรัฐสภา ซึ่งคนที่ช่วยกันผ่านออกมาก็ได้มาจากระบอบประชาธิปไตยงัยละครับ พวกที่ไปนั่งในสภา ก็ได้มาจากการเลือกตั้ง ล่าสุดเห็นว่าจะย้อนยุคกลับไปใช้ระบบ เจ็ดสิบสามสิบ คือเลือกตั้งเจ็ดสิบแต่งตั้งสามสิบ หรืออาจจะกลับกัน อันนี้ไม่พูดดีกว่าครับ เดี๋ยวจะพาลโกรธกัน หาว่าสีไม่เหมือนกัน
พูดมาถึงตรงนี้ พอจะทราบอีกไหมว่ามีกฏหมายอะไรจะมาเทียบเท่ารัฐธรรมนูญได้อีก (มี๊ เสียงสูง) มีครับ มีจริงๆ ไม่ได้โกหก ก็ ประกาศคณะปฏิวัติงัย (โปรดฟังอีกครั้ง) ประเทศไทยเราอยู่กันมาแบบนี้เนิ่นนานแล้วครับ
กฏหมายความปลอดภัย ก่อนปี พ.ศ. 2540 นั้น ได้อำนาจมาจาก กฏหมายที่เรียกว่า ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ปี 2515 เก่างั่กเลยครับ มาจนกระทั่ง ปี 2540 หลังจากเมืองไทยว่างเว้นการปฏิวัติรัฐประหาร มาได้สัก 5 ปี เราก็มีพระราชบัญญัติแรงงานกันเป็นเรื่องเป็นราว
ใน พรบ.มีมาตราที่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย สุขภาพ เริ่มที่มาตรา 100-103 โดยเฉพาะมาตรา 103 ให้รัฐมนตรีไปออกกฏหมาย และให้รัฐมนตรีไปแต่งตั้ง เจ้าพนักงาน ในมาตราท้ายๆของ พรบ. เช่นมาตรา 150 แถวๆนั้น ระบุชัดเจนว่าถ้านายจ้าง ไม่ทำนั่น นู่น นี่ มีโทษทั้งปรับ โทษจำคุก กำหนดไว้ครับ
ลองกลับไปอ่านดูนะครับว่า ข้อหาต่างแบบที่บริษัทกระดาษที่อเมริกาโดน ถ้าเมืองไทย เอาจริง คุณว่าปรับได้ไหม ถ้าได้ เพราะอะไร ถ้าไม่ได้ทำไม
ผมหยิมมาให้ดู สักฉบับ เอาฉบับของปี 2549
ข้อ ๓
ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเพื่อควบคุมมิให้มีการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งจัดวางระบบควบคุม กำกับ ดูแล โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ ให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ ข้อนี้ข้อเดียว ถ้าจะตั้งหน้าตั้งตาปรับกันจริงๆ รับรองครับ กระทรวงแรงงานไม่ต้องของบประมาณให้เหนื่อย ก็แค่ส่งเจ้าพนักงานเข้าไปดู
อ้าว หวัดดีคร๊าบ ทำรายกานคร๊าบบบบ ไหนๆๆ ดูดี๊ อ้อ ตั้งนั่งร้านกันเหรอครับ ไหน มีคู่มือกำหนดขั้นตอน วิธ๊การปฏิบัติงานมั๊ยคร๊าบบบ อ้อ ไม่มีเหยอ.... ไหนผู้จัดการ ขอคุยที่มุมตึกหน่อย....โอ๊ะ โอวววว ถล่ม แว๊ววววว เอาไปอีกสามสิบข้อหา อิๆๆๆ
ประเด็นที่พูดมาทั้งหมด ก็คือ ประเทศไทย เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกฏหมาย เรื่องไหนที่มีในโลกหล้า ประเทศไทยมีหมดครับ
ต่างกันตรงแค่ว่า กฏเป็นกฏ หรือว่าเพียงแค่ กฏ เอาไว้กดเท่านั้นรึเปล่า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น