บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2010

Safety, Security, Industrial Health and Hygiene Consultant: Don't Ask, Don't Tell

Safety, Security, Industrial Health and Hygiene Consultant: Don't Ask, Don't Tell

Don't Ask, Don't Tell

รูปภาพ
ไม่ถาม ก็ไม่ตอบ ประธานาธิบดีบารัคโอบามา ผู้กวาดคะแนนนิยมและสร้างกระแสการตอบรับชนิดถล่มทลาย ไม่เฉพาะในอเมริกา แต่ดังข้ามทวีป ไปถึงญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไทยแลนด์ แดนขี้เห่อ กูเห่อได้ทุกเรื่อง ก็ไม่เว้นถูกกระแส CHANGE พัดพานายก โอบามาร์ค ขึ้นสู่ตำแหน่ง แม้จะทุลักทุเล และ ทุเรศ ไปหน่อยกับการได้มาของรัฐบาลที่ตั้งกันในค่ายทหาร แต่ความหล่อไม่เข้าใครออกใคร เมื่อเอาหน้าตาไปเทียบกับคู่แข่งคนอื่นๆ จนในที่สุด ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ CHANGE ของจริง ที่อเมริกา ผู้คนพากันเอือมระอา กับลีลาการทำงานของขวัญใจที่เพิ่งเลือกมาหมาดๆ CHANGE ที่เคยประกาศไว้ คล้ายๆกับนโยบาย 90 วัน ของโอบามาร์ค โอบามา เกาะโพเดียมไปวันๆ ดีหน่อยที่ไม่ต้องเกาะโพเดียมในค่ายทหาร แต่ถึงกระนั้น กระแสความเบื่อหน่ายของผู้คนที่นี่หนักหน่วงขึ้นทุกวัน ที่เมืองไทย เป็นอย่างไรไม่รู้ ที่รู้ๆก็คือ มันหมดไปแล้ว ความยุติธรรมของระบบตุลาการ กระบวนการบริหารตามระบอบประชาธิปไตยแบบที่เป็นอยู่ และระบบรัฐสภาที่ล่มสลายแบบไม่มีทางจะกู้กลับคืนมาได้อีก (ของเดิมก็เน่าพออยู่แล้ว แต่ตอนนี้ เน่าจนเกินเยียวยา) พรรคเดโมแครท (พรรคประชาธิปัตย์ ของอเมริกา) พ่ายแพ้กา

อร่อย ตายเลย

รูปภาพ
ถ้าเป็นวัยรุ่นออกแนวแต๋วแตก แรกเริ่ม ก็อาจจะมีลีลากระตุ้งกระติ้ง จีบปากจีบคอ กรีดนิ้วหยิบ "Popcorn" ใส่ปาก เฮฮากรี๊ดกร๊าดลั่นโรงหนัง ว่า " อร่อย ตายเลย เธอ "   ถ้าออกแนวห่ามๆ แบบจิกโก๋ ก็อาจจะอีกแบบ เช่น "อร่อย ฉิบหาย" อะไรแนวนั้น เท่าที่รู้ ยังไม่เคยเห็นคนกิน ป๊อบคอร์น หรือที่บ้านเราเรียก ข้าวโพดคั่ว แล้วตายเลยนะครับ แต่ที่อเมริกา โดยผลงานวิจัยของ NIOSH เมื่อปี 2000 แถลงออกมาว่ามีพนักงานของโรงงานผลิต ปีอบคอร์นแบบถุง ที่ใส่ในไมโครเวฟ แสดงอาการของโรคปอดอย่างรุนแรง เนื่องมาจากการสูดดมสารปรุงแต่งกลิ่นเนย ระหว่างขั้นตอนการผลิตเข้าไป การป่วยของพนักงาน 8 คนในรัฐ  Missouri ทำให้ NIOSH เข้ามาทำการตรวจสอบจนพบสาเหตุของโรคปอด ในคนงานเหล่านั้น บางคนอาจจะเคยเห็น โลโก้ของ NIOSH แต่อาจจะไม่ทราบว่าหน่วยงานนี้ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง เมื่อปี 1970 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้งหน่วยงานสำคัญขึ้นสองหน่วยงาน ได้แก่ OSHA - Occupational Safety and Health Administration สังกัดกระทรวงแรงงาน (U.S' Department of Labor) มีภาระกิจในการบริหารและบังคับใช้กฏหมา

กฏหมายกับ กฏที่หมดความหมาย

รูปภาพ
ที่อเมริกา OSHA สั่งปรับบริษัทมากมายกราวรูด แต่ละครั้งเป็นมูลค่านับล้านบาท เช่น BP ถูกสั่งปรับ กรณีโรงกลั่นน้ำมันที่ Texas ระเบิดเมื่อปี 2005 เป็นเงินถึง 50.6 ล้านเหรียญ ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2010 OSHA สั่งปรับบริษัทผลิตกระดาษรายใหญ่ใน Philadelphia เป็นเงินสูงถึง 86,100 USD. หลังจากการเข้าสอบสวนอุบัติเหตุ พนักงานดวงกุดถูกฮอบเปอร์ของเครื่องย่อยกระดาษทับตาย พบว่ามีการละเมิดมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฏหมาย 39 ข้อหาฉกรรจ์ และอีก 4 ข้อหาที่เป็นการผิดกฏหมายรุนแรง  มาดูกันดีกว่าว่ามีข้อหาอะไรบ้าง ที่ระบุไว้ในแถลงข่าว ก็มีเรื่องต่อไปนี้ คือ บริษัทละเลยที่จะนำสิ่งที่เป็นอันตรายออกไปให้พ้นการกีดขวางทางเดิน มีระบบ Lock-Out-Tag-Out ไม่เพียงพอเป็นเหตุให้พนักงานต้องเผชิญกับพลังงานที่อันตราย ระบบ Machine Guarding ไม่เพียงพอ ตรวจพบมีอันตรายจากไฟฟ้า ถังดับเพลิงถุกกีดขวาง ขาดการจัดการเรื่องแมลงและสัตว์นำโรค มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลไม่เพียงพอที่จะป้องกันพนักงานจากการถุกความร้อนลวก ขาดการควบคุมการติดเชื้อจากสิ่งที่เป็น Blood Borne Pathogen (ไม่รู้จะแปลด้วยคำไหนให้สละสลวยสวยเก๋) ข

ไอ้ห่า AIHA

รูปภาพ
เมื่อครั้งอยู่โรงไฟฟ้า บทความเรื่องทฤษฎี "อีสามตัว" (3 E Theory) ถูกตีกลับมาอย่างไร้เยื่อใย บทความเซฟตี้ถูกแทนที่ด้วยมุม Gossip เรื่อง หมาของเจ้านาย น่ารักจังเลย (ยังแค้นไม่หาย) ด้วยข้อหาใช้คำไม่สุภาพ วันนี้เลยเอาคำว่า ไอ้ห่า ไอฮ๊า ไอฮา แล้วแต่จะออกเสียงออกแอคเซ้นท์ ตามสบายครับ  (AIHA) มาเล่าให้ฟัง เพราะยังงัยเสียก็ไม่มีใครบังอาจมาเซ็นเซอร์ข้อความเราอยู่แล้ว ฉบับนี้ขอระบายความในใจกันหน่อยด้วยเหตุผลสองสามข้อ ประการแรกก็คือ เพื่อเล่าสู่กันฟังในกลุ่มเพื่อนร่วมอาชีพ แม้จะรู้อยู่เต็มอกว่า ต่อให้เอาลิงค์ไปโพสต์ไว้ในเฟสบุคบ้าง ตามเว็บบอร์ดบ้าง ก็น้อยนักที่จะมีคนอ่าน ยิ่งเป็นเรื่องวิชาการ ฝันไปเถอะครับ ประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบให้ดูว่าบ้านอื่นเมืองอื่นเขาเป็นอย่างไรในการบริหารวิชาชีพ เรื่อง Occupational Health and Safety ถ้าเป็นวิชาการมากๆมันน่าเบื่อ ถ้าเป็นการบรรยายในห้องเรียน มาแนววิชาการล้วนๆ รับรองครับ หลับหมด  ผมมาสะดุดกับบทความของ AIHA - A merican I ndustrial H ygine A ssociation ก็ตอนที่จะสมัครเป็นสมาชิกของไอ้ห่านี่แหละ ขออนุญาตครับ อ่านดูคุณสมบัติของสมาชิก ข้อหนึ่ง

การสร้างสถานการณ์จำลอง

รูปภาพ
Developing Scenairo   การจำลองสถานการณ์ เป็นขั้นตอน ถัดมาจากการเขียนแผนฉุกเฉิน ซึ่งในบทความก่อนหน้านี้ผมได้หยิบยกเรื่องราวของการทำแผนฉุกเฉินที่โรงไฟฟ้า และเรื่องของพวกหมวกสีทองมาส่วนหนึ่ง เพื่อให้เห็นว่า แผนฉุกเฉินต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ถ้าในยามปกติ ไม่มีใครในโรงงานคุณใช้วิทยุสื่อสารในการติดต่อกัน มันก็เปล่าประโยชน์ที่คุณจะซ้อมแผนฉุกเฉินโดยการไปเช่าวิทยุสื่อสารมาให้บรรดาทีมดับเพลิง ทีมประสานงาน ทีมช่วยเหลือ ทีมปฐมพยาบาลถือกันเวลาซ้อม เพราะมันไม่สมเหตุสมผล ต่อให้คุณสร้างฉากจำลองเหตุการณ์สมจริงราวกับกองถ่ายละครจากฮอลลีวูด ก้ไม่ได้ช่วยให้แผนฉุกเฉินของคุณใกล้เคียงความจริง เพราะสถานการณ์จำลองไม่ได้ช่วยในการทดสอบสิ่งที่คุณเขียนไว้ในแผนเลยแม้แต่น้อย ตรงกันข้าม สถานการณ์จำลอง ต้องมาจากข้อเท็จจริง มาจากข้อมูล มาจากการวิเคราะห์ก่อนที่จะเขียนแผนเสียอีก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทั้งเดือน ทั้งสัปดาห์ พวกหมวกสีทองแทบไม่เคยโผล่หน้ามาโรงงานเลย แล้วคุณจะเขียนไปในแผนให้พวกเขาเหล่านั้นมีหน้าที่สั่งการในแผน มันไม่สมเหตุสมผล คนที่จะมีหน้าที่ในการสั่งการควรจะเป็นคนที่ทำงานอยู่ที่นั่นเป็นประจำมากกว่าใค

Emergency Pre-Planning

รูปภาพ
 เบื้องหลังไม่มีเซ็นเซอร์   แผนฉุกเฉิน   แผนฉบับแรกที่ผมลงมือเขียน เป็นแผนฉุกเฉินของโรงไฟฟ้า Cogeneration ซึ่งในขณะนั้น เป็นของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของไทย ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม ในปัจจุบันได้ขายโรงไฟฟ้าทั้งเฟส หนึ่ง สองและสามให้กับบริษัทสัญชาติยุโรปแห่งหนึ่งไปแล้ว โรงไฟฟ้าเฟสหนึ่งและสองตั้งอยู่บนพื้นที่ของโรงผลิตโอเลฟินในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ความที่ใช้พื้นที่ของคนอื่น โรงไฟฟ้าแห่งนี้ แม้จะมีรั้วโดยรอบ เปิดออกสู่โรงโอเลฟินได้ แต่ก็มักจะมีโซ่คล้องเอาไว้เพื่อการรักษาความปลอดภัย วัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยที่โรงงานแห่งนี้ออกจะดูประหลาดในสายตาของผม ครั้งที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ กล่าวคือ ทุกครั้งที่ เจ้านาย ในที่นี้คือ เอ็มดี (Managing Director) มาเยี่ยมเยือนโรงงาน หัวหน้า รปภ. ผู้ซึ่งเป็นที่น่าเกรงขามของทุกๆคนเพราะเป็นคนของ นาย หรือ เพราะเป็นทหารเก่า (มั๊ง เดาเอา) แกจะทำหน้าที่อย่างแข็งขัน ด้วยการวิ่งถือธงเล็กๆสีเขียวนำหน้ารถ จากปากประตู ของโรงโอเลฟิน มาจนถึงโรงไฟฟ้าแห่งนั้นทุกคราไป สอบถามก็ได้ความว่า โรงโอเลฟินมีความเข้มงวดเรื่องการเข้าออก ต้องตรวจบัตร แลกบัตร ทำให้

โรงละครกลางกรุงนิวยอร์คถูกสั่งปรับ 51,000 USD

รูปภาพ
NEW YORK – The U.S. Department of Labor's Occupational Safety and Health Administration has cited the David H. Koch Theater, located at the Lincoln Center for the Performing Arts in Manhattan, for alleged repeat and serious violations of workplace health and safety standards. The theater faces a total of $51,000 in proposed fines, chiefly for asbestos, fall and crushing hazards identified during an OSHA inspection prompted by worker complaints. See more on   http://osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=NEWS_RELEASES&p_id=18894 กระทรวงแรงงานสหรัฐ สั่งปรับโรงละคร เดวิด เอช โคช ที่ตั้งอยู่ในลินคอนเซ็นเตอร์ เป็นมูลค่า 51,000 เหรียญ คิดเป็นเงินไทยในยามที่ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก ก็แค่ประมาณ ล้านห้าแสนบาท ด้วยข้อหาละเมิดมาตรฐานความปลอดภัยและสุขภาพอย่างรุนแรง ด้วยการทำให้มีแอสเบสทอสร่วงลงมาแล้วแตกกระจายระหว่างการเข้าตรวจของ OSHA เนื่องจากมีพนักงานร้องเรียน   OSHA ตรวจพบว่าพนักงานของโรงละครดังกล่าวและผู้รับเหมาจากภายนอกไม่ได้รับการเตือนให้รู้ว่ามีสิ่งเจือปนด้วยแอสเบสทอส (AC